วันจันทร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2562

Autonomous Things นวัตกรรมไร้คนขับ

 Autonomous Things นวัตกรรมไร้คนขับ



ยานพาหนะไร้คนขับ นวัตกรรมแห่งอนาคต
ยานพาหนะไร้คนขับ (Autonomous Vehicles) คือการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีหุ่นยนต์ขั้นสูง (Advance Robotics) มาพัฒนาและปรับใช้เป็นยานพาหนะไร้คนขับในการเดินทาง (Self-Driving Car) และการขนส่งสินค้า (Self-Driving Truck) โดยมีการประยุกต์ใช้จากเทคโนโลยีหลายสิ่งประกอบกัน ได้แก่ เซ็นเซอร์ (เพื่อจับสัญญาณสิ่งกีดขวางรอบตัวรถ) (INTERNET OF THINGS) ปัญญาประดิษฐ์ (AI : Artificial Intelligence) และ Big Data Analytics (เพื่อความอัจฉริยะในการขับขี่) อย่างไรก็ตาม นวัตกรรมยานพาหนะไร้คนขับในปัจจุบัน ยังคงติดอุปสรรคในด้านการยอมรับจากสังคมในเรื่องความปลอดภัย เนื่องจากยังคงมีอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นจากการทดสอบ Autonomous Vehicles นี้อยู่เป็นระยะๆ

ระดับของยานพาหนะไร้คนขับมีทั้งสิ้น 6 ระดับ ดังนี้ ระดับที่ 0 : มนุษย์ขับเคลื่อนยานพาหนะเอง (ยานพาหนะส่วนใหญ่อยู่ในระดับนี้ ) ระดับที่ 1 : ยานพาหนะเริ่มช่วยมนุษย์ขับเคลื่อนบ้าง (มีเซ็นเซอร์คอยเตือนเมื่อขับออกนอกเลน ช่วยในการเบรกกะทันหัน เป็นต้น) ระดับที่ 2 : ยานพาหนะขับเคลื่อนได้เองบางส่วน (ควบคุมพวงมาลัย เร่งเครื่อง เบรก ได้พร้อมกัน และจอดเข้าซองได้เอง) ระดับที่ 3 : ยานพาหนะขับเคลื่อนได้เองเป็นส่วนใหญ่ โดยมีมนุษย์คอย Support และแก้ไขสถานการณ์อยู่หลังพวงมาลัย ระดับที่ 4 : ยานพาหนะขับเคลื่อนได้เองแบบสมบูรณ์ โดยมนุษย์ไม่ต้อง Focus อยู่หลังพวงมาลัย (นั่งอ่านหนังสือที่เบาะหลังได้) แต่อาจต้องเข้าควบคุมยานพาหนะในบางสถานการณ์ที่ฉุกเฉิน ระดับที่ 5 : ยานพาหนะสามารถขับเคลื่อนได้เองแบบสมบูรณ์พร้อม โดยไม่ต้องมีที่นั่งสำหรับคนขับ ไม่ต้องมีพวงมาลัย มีเพียงที่นั่งสำหรับผู้โดยสาร เหมือนยานอวกาศ การพัฒนายานพาหนะไร้คนขับมีบริษัทรถยนต์ และเทคโนโลยี แข่งขันกัน เพื่อแบ่งเค้กก้อนโตในธุรกิจแห่งอนาคตนี้อยู่หลายบริษัท เช่น Google, Tesla, Nutonomy, BMW, Honda, Toyota, Audi, Apple, Benz, Volvo และ GM เป็นต้น ประเด็นสำคัญของการเป็นผู้ชนะในธุรกิจนี้ คือ การทำให้ยานพาหนะมีความเร็วเฉลี่ยมากที่สุด ภายใต้ความปลอดภัยที่ยอมรับได้ เนื่องจากการขับเคลื่อนยานพาหนะจะถูกควบคุมโดย AI เป็นหลัก ซึ่ง ระบบ AI มีความสามารถจดจำการเห็นภาพบริบทต่างๆบนท้องถนน ได้แก่ สัญญาณไฟจราจร คนข้ามถนนที่ทางมาลัย และจะทำหน้าที่ตัดสินใจให้ยานพาหนะหยุด หรือเคลื่อนที่ไปต่อ ในกรณีที่ระบบ AI อนุรักษ์นิยมมากเกินไปเพื่อความปลอดภัย ยานพาหนะจะหยุดทุกครั้งเมื่อเจอปัจจัยต่างๆ เหล่านี้ ส่งผลให้ความเร็วเฉลี่ยของยานพาหนะจะช้าลง การสร้างระบบอัลกอริทึมของ AI ที่มีประสิทธิภาพ คือ ความท้าทายของผู้พัฒนาระบบในการที่จะยอมเสี่ยงที่จะให้ยานพาหนะเคลื่อนที่ไปในบางสถานการณ์ที่เป็นจุดวัดใจ แต่มีเปอร์เซ็นต์สูงที่จะชนะ เช่น ในกรณีที่ระบบ AI ไปเจอสถานการณ์ที่มนุษย์กำลังจะเดินข้ามถนนในที่ที่ไม่ใช่ทางม้าลาย ระบบ AI จะวิเคราะห์ว่า ด้วยลักษณะท่าทางของมนุษย์คนนี้ เขาจะตัดสินใจข้าม หรือจะหยุด ในกรณีที่ ความเป็นไปได้ที่เขาจะหยุดมีมากกว่าข้าม (80-20%) AI จะตัดสินใจให้ยานพาหนะขับเคลื่อนต่อไป โดยไม่ต้องหยุด ซึ่งจะส่งผลให้ความเร็วเฉลี่ยของยานพาหนะมีมากขึ้น ซึ่งจะเป็นปัจจัยสำคัญในการเป็นผู้ชนะในธุรกิจแห่งอนาคตนี้ ในอนาคตอันใกล้อีก 5-10 ปีต่อจากนี้ ระบบ AI จะเข้ามามีบทบาทต่อต่อภาคอุตสาหกรรมในประเทศอย่างแน่นอน (5 อุตสาหกรรมอนาคต ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ และอุตสาหกรรมดิจิทัล) และจะเป็นยุคของ Digital Disruption ที่เทคโนโลยีสมัยใหม่จะเข้ามาแทนที่เทคโนโลยีเดิม และจะนำไปสู่รูปแบบธุรกิจใหม่โดยมีระบบ AI เป็นจุดศูนย์กลางที่สำคัญสำหรับการเปลี่ยนแปลงนี้ ดังนั้น ผู้ประกอบการขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดย่อม (SMEs) ต้องเร่งปรับตัวให้ทันกับการพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่ในยุค Digital Disruption นี้













http://sakaradhorn.com/blog-ai/


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น